หลักการ "รู้ชื่อ รู้ลักษณ์ รู้จัก"
สาระการเรียนรู้
กำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษา สำรวจพรรณไม้ ทำและติดป้ายรหัสประจำต้น บันทึกภาพพรรณไม้ หรือวาดภาพทางพฤกษศาสตร์ ตั้งชื่อหรือสอบถามข้อมูลพรรณไม้ ทำป้ายชื่อพรรณไม้ชั่วคราว ทำผังแสดง ตำแหน่งพรรณไม้ ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (ก.๗-๐๐๓) ทำตัวอย่างพรรณไม้ เปรียบเทียบข้อมูลกับ เอกสาร เรียนรู้ชื่อที่เป็นสากล ทำทะเบียนพรรณไม้ (ก.๗-๐๐๕) ตรวจสอบความถูกต้องของทะเบียนพรรณ ไม้ และจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์ เพื่อให้รู้จัก รู้ประโยชน์ของพรรณไม้
ลำดับการเรียนรู้
๑. กำหนดพื้นที่ศึกษา
๒. สำรวจพรรณไม้ในพื้นที่ศึกษา
๓. ทำและติดป้ายรหัสประจำต้น
๔. ตั้งชื่อหรือสอบถามชื่อ และศึกษาข้อมูลพื้นบ้าน (ก.๗-๐๐๓ หน้า ๑)
๕. ทำผังแสดงตำแหน่งพรรณไม้
๖. ศึกษาและบันทึกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (ก.๗-๐๐๓ หน้า ๒-๗)
๗. บันทึกภาพหรือวาดภาพทางพฤกษศาสตร์
๘. ทำตัวอย่างพรรณไม้ (แห้ง/ ดอง/ เฉพาะส่วน)
๙. เปรียบเทียบข้อมูลที่สรุป (ก.๗-๐๐๓ หน้า ๘) กับข้อมูลที่สืบค้นจากเอกสาร แล้วบันทึก ใน ก.๗-๐๐๓ หน้า ๙ - ๑๐
๑๐. จัดระบบข้อมูลทะเบียนพรรณไม้ (ก.๗-๐๐๕)
๑๑. ทำร่างป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์
๑๒. ตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการด้านพฤกษศาสตร์
๑๓.ทำป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์
หมายเหตุ ระบบส่งเสริมการด าเนินงานองค์ประกอบที่ ๑ มีงานฐานข้อมูลทะเบียนพรรณไม้สวน พฤกษศาสตร์โรงเรียน ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ส าหรับโรงเรียนสมาชิกฯ ที่มีความพร้อม (ดูภาคผนวก....)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ด้านวิชาการ๑. พฤกษศาสตร์ เช่น ลักษณะ โครงสร้างของพืช ชื่อวิทยาศาสตร์
๒. ชีววิทยา เช่น การจำแนก
๓. ภูมิศาสตร์ เช่น การส ารวจ การทำแผนที่
๔. ภาษา เช่น การสอบถาม การสรุปองค์ความรู้
๕. ศิลปะ เช่น การวาดภาพ การถ่ายภาพ การออกแบบป้ายชื่อพรรณไม้
๖. สังคมศาสตร์ เช่น งานเก็บรวบรวมข้อมูล การท างานร่วมกัน ความสัมพันกับชุมชน
ด้านภูมิปัญญา
๑. การเรียนรู้ที่มีพืชเป็นปัจจัย
๒.การคิดเป็นล าดับขั้นตอน
๓. การจัดการ
๔. จินตนาการการสัมผัสเรียนรู้พืชพรรณ
คุณธรรมและจริยธรรม
๑. ความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
๒. ความซื่อตรง ในการศึกษา
๓. ความมีระเบียบความรอบคอบ ละเอียด ถี่ถ้วน ในการปฏิบัติงาน
๔. ความอดทนต่อสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น