องค์ประกอบงานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน

งานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน

องค์ประกอบที่ ๑ การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้หลักการ รู้ชื่อ รู้ลักษณ์ รู้จัก

 ลำดับการเรียนรู้ :
๑. กำหนดพื้นที่ศึกษา
๒. สำรวจพรรณไม้ในพื้นที่ศึกษา
๓. ทำและติดป้ายรหัสประจำต้น
๔. ตั้งชื่อหรือสอบถามชื่อ และข้อมูลพรรณไม้ (ก.๗-๐๐๓ หน้า ๑)
๕. ทำผังพื้นที่แสดงตำแหน่งพรรณไม้
๖. ศึกษาและบันทึกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (ก.๗-๐๐๓ หน้า๒-๘)
๗.  บันทึกภาพหรือวาดภาพทางพฤกษศาสตร์
๘.  ทำตัวอย่างพรรณไม้ (แห้ง ดอง เฉพาะส่วน)
๙.  เปรียบเทียบข้อมูลกับเอกสาร (ก.๗-๐๐๓ หน้า ๙-๑๐)
๑๐. จัดระบบข้อมูลทะเบียนพรรณไม้ (ก.๗-๐๐๕)
๑๑. ทำร่างป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์
๑๒. ตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการ
๑๓. ทำป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์

องค์ประกอบที่ ๒ การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน
หลักการ  “คลุกคลี เห็นคุณ สุนทรีย์”

 ลำดับการเรียนรู้ :

๑. ศึกษาข้อมูลจากผังพรรณไม้เดิมและศึกษาธรรมชาติของพรรณไม้

๒. สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์สภาพพื้นที่

๓.  พิจารณาสุนทรียภาพของพรรณไม้

๔.  กำหนดการใช้ประโยชน์ ในพื้นที่

๕.  กำหนดชนิดพรรณไม้ที่จะปลูก

๖.  ทำผังภูมิทัศน์

๗. จัดหาพรรณไม้ วัสดุเข้าปลูก

๘.  การปลูก และดูแลรักษา 

๙. ศึกษาคุณของพืชพรรณที่ปลูก ออกแบบบันทึกการเปลี่ยนแปลง


องค์ประกอบที่ ๓  การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ  หลักการ   วิเคราะห์  เห็นความต่าง รู้ความหลายหลาก

 ลำดับการเรียนรู้ : 

๑. การศึกษาพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (ก.๗-๐๐๓)
๒. การศึกษาพืชที่สนใจ

   - การศึกษาลักษณะภายนอก ภายในของพืชแต่ละส่วนโดยละเอียด

   - การกำหนดเรื่องที่จะเรียนรู้ในแต่ละส่วนของพืช

   - การเรียนรู้แต่ละเรื่อง แต่ละส่วนขององค์ประกอบย่อย

   - การนำข้อมูลมาเปรียบเทียบความต่างในแต่ละเรื่อง ในชนิดเดียวกัน


องค์ประกอบที่ ๔ การรายงานผลการเรียนรู้หลักการ รู้สาระ รู้สรุป รู้สื่อ 

 ลำดับการเรียนรู้ :

๑. รวบรวมผลการเรียนรู้ 
๒. คัดแยกสาระสำคัญ และจัดให้เป็นหมวดหมู่ 
๓. การสรุปเรียบเรียงสาระ 
๔. เรียนรู้รูปแบบการเขียนรายงาน    
๕. กำหนดรูปแบบการเขียนรายงาน 
๖. เรียนรู้วิธีการรายงานผล
๗. กำหนดวิธีการรายงานผล 


องค์ประกอบที่ ๕  การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา หลักการ  นำองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาการ   เผยแพร่เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่  

 ลำดับการเรียนรู้ :  

  ๑. นำสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนบูรณาการสู่การเรียนการสอน
  ๒. การเผยแพร่องค์ความรู้ 

  ๓. การจัดสร้างแหล่งเรียนรู้ 

 ๔. การใช้ การดูแลรักษา และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น