องค์ประกอบที่ ๒

องค์ประกอบที่ ๒ การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน 

หลักการ   "คลุกคลี  เห็นคุณ  สุนทรีย์" 


สาระการเรียนรู้ 

    เรียนรู้พืชพรรณ และสภาพพื้นที่ วิเคราะห์พื้นที่ พิจารณาคุณ และสุนทรียภาพพรรณไม้ ทำผัง ภูมิทัศน์ จัดหาพรรณไม้ ปลูก ดูแลรักษา และออกแบบบันทึกการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เห็นคุณ รู้ค่า ของ พืชพรรณ


 ลำดับการเรียนรู้ 

   ๑.  ศึกษาข้อมูลจากผังพรรณไม้เดิมและศึกษาธรรมชาติของพรรณไม้
   ๒. สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์สภาพพื้นที่
   ๓.  พิจารณาคุณ และสุนทรียภาพของพรรณไม้
   ๔.  กำหนดการใช้ประโยชน์ในพื้นที่
   ๕.  กำหนดชนิดพรรณไม้ที่จะปลูก
   ๖.  ทำผังภูมิทัศน์
   ๗. จัดหาพรรณไม้ วัสดุปลูก
   ๘.  การปลูก และดูแลรักษา 
   ๙.  ศึกษาคุณ ประโยชน์ของพืชพรรณที่ปลูก ออกแบบบันทึกการเปลี่ยนแปลง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ด้านวิชาการ 
  ๑. การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ  เช่น การวางแผนการปฏิบัติงาน การออกแบบตารางบันทึก
  ๒. ภูมิศาสตร์ เช่น การวิเคราะห์สภาพพื้นที่
  ๓. สังคมศาสตร์ เช่น การท างานร่วมกัน ความสัมพันธ์กับชุมชน
  ๔. การออกแบบภูมิทัศน์ เช่น หลักการออกแบบ องค์ประกอบของศิลปะ
  ๕. เกษตรศาสตร์ เช่น การขยายพันธุ์พืช การปลูก  การดูแลรักษาพรรณไม้
  ๖. พฤกษศาสตร์ เช่น โครงสร้างของพืช ลักษณะพรรณไม้
  ๗. นิเวศวิทยา เช่น ระบบนิเวศน์ ลักษณะพื้นที่ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย วัฏจักร ห่วงโซ่ อาหาร

ด้านภูมิปัญญ
  ๑. การประยุกต์ใช้ วัสดุต่างๆ ในการวิเคราะห์พื้นที่ การปลูก
  ๒.  การจัดหา  การปลูก การขยายพันธุ์พืช การดูแลรักษา และการจัดการ
  ๓.  ภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับพืชพรรณ

ด้านคุณธรรม จริยธรรม  
 ๑.   ความอดทน
 ๒.   ความขยันหมั่นเพียร
 ๓.   การอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทรต่อกัน
 ๔.   เมตตา  กรุณา ต่อพืช  สัตว์  และสิ่งต่างๆ
 ๕.   ความรับผิดชอบ  โดยฝึกให้ดูแลต้นไม้
 ๖.    การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น  ความมีเหตุ  มีผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น