องค์ประกอบที่ ๓

องค์ประกอบที่ ๓  การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ 

 หลักการ   "รู้การวิเคราะห์  เห็นความต่าง   รู้ความหลายหลาก" 


สาระการเรียนรู้   
   การนำทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นปัจจัยในการเรียนรู้  โดยการใช้ปัจจัยหลายปัจจัยในชนิด เดียวกันหรือต่างชนิดกัน เพื่อให้เห็นความต่าง เมื่อเห็นความต่าง ก็จะเกิดจินตนาการอันจะน าไปสู่การใช้ ประโยชน์ในงานแต่ละด้าน

ลำดับการเรียนรู้ 
๑. การศึกษาพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน(ก.๗-๐๐๓) ครบตามทะเบียนพรรณไม้
   ๑.) การมีส่วนร่วมของผู้ศึกษา
   ๒.) การศึกษาข้อมูลพื้นบ้าน
   ๓.) การศึกษาข้อมูลพรรณไม้
   ๔.) การสรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
   ๕.) การสืบค้นข้อมูลพฤกษศาสตร์
   ๖.) การบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม
   ๗.) การตรวจสอบผลงานเป็นระยะ
   ๘.) ความเป็นระเบียบ ความตั้งใจ
๒. การศึกษาพรรณไม้ที่สนใจ
   ๑.) การศึกษาลักษณะภายนอก ภายในของพืชแต่ละส่วนโดยละเอียด
  ๒.) การก าหนดเรื่องที่จะเรียนรู้ในแต่ละส่วนของพืช
  ๓.) การเรียนรู้แต่ละเรื่อง แต่ละส่วนขององค์ประกอบย่อย
  ๔.) การนำข้อมูลมาเปรียบเทียบความต่างในแต่ละเรื่อง ในชนิดเดียวกัน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
๑. ด้านวิชาการ
   - สัณฐานวิทยา เช่น โครงสร้างภายนอก
   - กายวิภาควิทยา เช่น โครงสร้างภายใน
   - พฤกษศาสตร์ เช่น ข้อมูลลักษณะพรรณไม้ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อวงศ์
   - วิทยาศาสตร์ เช่น การวิเคราะห์ การบันทึก สังเกต ทักษะการใช้เครื่องมือ
  - ภาษา เช่น การสื่อสาร การใช้ภาษาในการเรียบเรียงข้อมูล การกำหนดค่า
  - ศิลปะ เช่น การวาดภาพ
๒. ด้านภูมิปัญญา
   - การจัดเก็บข้อมูลพื้นบ้าน
  - การใช้เครื่องมือในการศึกษาข้อมูล
   - การวางแผนการปฏิบัติงาน
๓. คุณธรรมและจริยธรรม
   - ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
  - ความซื่อตรง ในการศึกษาและรายงานผลที่ถูกต้องเป็นจริง
   - ความมีระเบียบ รอบคอบ ละเอียด ถี่ถ้วน ในการปฏิบัติงาน    ความอดทนต่อสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
  - ความสามัคคี
  - ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
   - มนุษยสัมพันธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น